วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

5W1H

5W1H

5W1H: วิธีที่มีประสิทธิภาพเพื่อรวบรวมและนำเสนอข้อมูลที่สำคัญ


5W1H




















5W1H หนึ่งในเครื่องมือที่ใช้มากที่สุดในระดับสากลสำหรับการรวบรวมข้อมูล,วิเคราะห์และการนำเสนอเป็นกรอบ 5W1H
วิธีนี้จะใช้ในช่วงของกระบวนการนักวิเคราะห์วิศวกรที่มีคุณภาพที่จะเข้าใจและอธิบายความจริงปัญหาใด ๆ หรือปัญหาวิธีการเดียวกันสามารถที่ใช้ในการจัดระเบียบการเขียนของรายงานบทความเอกสารและแม้ทั้งหนังสือ
วิธีการพื้นฐาน

วิธีการนี้พยายามที่จะตอบคำถามพื้นฐานในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใด ๆ ของ: ใครอะไรเมื่อไหร่ที่ไหนทำไมและวิธีการ บางครั้งขึ้นอยู่กับบริบทที่สอง"H"อย่างไร


What.

คือเรื่องหลักของการรวบรวมข้อมูลเหตุผลและการนำเสนอ อาจจะเป็นที่ระบุไว้ในชื่อเรื่องและวัตถุประสงค์ อาจต้องจะกำหนดกระบวนการที่อาจประกอบด้วยส่วนที่เหลือของเอกสาร


Who.

สิ่งแวดล้อมอื่นๆ คนหรือกลุ่มความกังวลมันอาจอธิบายเอกสารหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายการหรือขั้นตอน


When.

หมายถึงเมื่อไหร่ในเวลาใดที่เกี่ยวข้อง มันอาจจะเป็นส่วนหนึ่งกับจุดที่เหมาะสมที่จะต้องดำเนินการ บางครั้งมันอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของสถานการณ์ของการกระทำตามเงื่อนไข


Where.

เหตุการณ์หรือกระบวนการนั้น เกิดขึ้นที่ไหนเมื่อไหร่ 


Why.

เหตุใดถึงทำสิ่งนั้นหรือ เพราะเหตุใดถึงเกิดเหตุการณ์นั้นๆ อาจมีการพิจารณาที่ไม่เกี่ยวข้องอาจจะเกิดจากนโยบายหรือขั้นตอน


How.


เหตุการณ์หรือสิ่งที่ทำนั้นเป็นอย่างไรบ้าง เมื่ออธิบายนโยบายกระบวนการหรือขั้นตอนอาจ
เป็นส่วนสำคัญที่สุด

ซอฟแวร์ที่ใช้ในงานออกแบบ(3มิติ)

โปรแกรมออกแบบ 3 มิติ


ซอฟแวร์ที่ใช้ในงานออกแบบ(2มิติ)

โปรแกรมออกแบบ 2 มิติ


เทคโนโลยีสะอาด

เทคโนโลยีสะอาด

1.ความหมายของเทคโนโลยีสะอาด(Clean Technology)หรือ CT
หมายถึงกระบวนการหรือวิธีการที่นำมาใช้พัฒนา เปลี่ยนแปลง 
ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ วิธีการ  กระบวนการหรือบริการอย่างต่อเนื่องเพื่อ
ให้เกิดผลกระทบหรือความเสี่ยงต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า  4R ได้แก่  Reuse  Repair  Reduce  
และ Recycle
      เทคโนโลยีสะอาดเป็นเทคโนโลยีที่ยั่งยืนอย่างหนึ่งเพราะสามารถ
ใช้ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ในปัจจุบันได้ตลอดชีวิต โดย
คำนึงถึงผลกระทบต่เศรษฐกิจ  สังคม และสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ
2.  4R
      2.1  Reuse ใช้แล้วใช้อีกเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการบริโภค
เพื่อลดการใช้ทรัพยากรและพลังงาน ลดการปล่อยมลพิษสู่
สภาพแวดล้อมไม่มีการเเปลี่ยนแปลงรูปทรงเช่น  ถุงผ้า ถุงกระดาษ
ถุงพลาสติกมีหูหิ้ว ขวดแก้ว ลังกระดาษ  กล่องพลาสติก ยางรัดของ
ขวดน้ำพลาสติกใช้แล้วใช้อีก เป้นสาเหตุทำให้เกิดอันตรายโดยเมื่อ
ขวดน้ำพลาสติกสัมผัสกับความเย็นจัดร้อนจัดขบกัดขูดขีด กระแทก
จะทำให้เกิดสารก่อมะเร็งหากดื่มน้ำจากขวดที่ใช้แล้วจะได้รับสารก่อมะเร็ง
2.2Repair หรือซ่อมแซมใช้ซ่ำเป็นการนำสิ่งของเครื่องใช้เก่าๆและ
ของมีตำหนิที่ยังมีค่ามาซ่อมแซมดัดแปลง เช่นเสื้อแขนยาวที่มีรอยขาด
ที่แขนนำมาดัดแปลงใช้เป็นเสื้อแขนสั้น ยางรถยนต์เก่านำมาเป็นภาชนะ
ปลูกพืชผักสวนครัว
2.3Reduce หรือ ลดการใช้ให้น้อยลง โดยลดการใช้ทรัพยากรที่มี
อยู่อย่างจำกัด ทรัพยากรที่หมดไปและทรัพยากรทดแทน เช่น พลังงาน
ปิโตรเลี่ยม  ถ่านหิน แร่ธาตุ
      ควรใช้อินเทอร์เนต  โทรศัพท์  โทรสาร  ในการทำงานแทนการ
เดินทางไปพบปะผู้ที่ต้องการติดต่อธุระด้วยตนเอง เพื่อประหยัดเวลา
2.4Recycle  หรือหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ คือการนำผลิตภัณฑ์
ประเภท กระดาษ  แก้ว พลาสติก  โลหะ ที่ใช้แล้วหมุนเวียนกลับ
มาใช้ใหม่เพื่อลดปริมารของเสียโดยผ่านกระบวนการผลิตเป็นสินค้าใหม่
4 ขั้นตอน ได้แก่  การรวบรวม  การแยกวัสดุแต่ละชนิดออกจากกัน
การผลิตหรือปรับปรุงด้วยวิธีหลอมละลาย  บด  อัดและการนำมาใช้ประโยขน์
โดยในขั้นตอนการผลิตนั้น วัสดุประเภทแก้ว  พลาสติก  โลหะ จะผ่านกรรมวิธี
ที่แตกต่างกัน

ประโยชน์ของเทคโนโลยีสะอาด

1.ประโยชน์ต่อมนุษย์  เช่นมีสุขภาพแข็งแรง ปลอดภัยจากสารพิษเพราะมีการปล่อยสารพิษสู่ธรรมชาติน้อยและมีสารพิษตกค้างที่ผลิตภัณฑ์น้อยประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคที่เกิดจากขยะ
2.ประโยชน์ต่อชุมขนและสังคม มีความสามัคคีระหว่างบ้าน ชุมชน โรงงานเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นจากมลพิษและร่วมกันแก้ไขปัญหา
3.ประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม เช่นแม่น้ำลำคลองสะอาด อากาศไม่มีกลิ่นเหม็น
4.ประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรม  
 5.ประโยชน์ต่อภาครัฐ

นักวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม เป็นอาชีพที่ทำงานเกี่ยวกับการตรวจสภาพของสิ่งแวดล้อมแล้วรายงานต่อผู้บังคับบัญชารายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของโครงการต่างๆ สถานประกอบการ โรงงานอุตสาหกรรมการสร้างสิ่งของเครื่องใช้ตามกระบวนการเทคโนโลยี    กระบวนการเทคโนโลยีประกอบด้วยขั้นตอน  7  ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดปัญหาหรือความต้องการ เช่น ต้องการทำตู้จดหมายที่มีเสียงเพลงแบบประหยัดค่าใช้จ่ายและสวยงามติดตั้งไว้ที่ประตูหน้าบ้าน ต้อวกำหนดว่ามีวิธีใดบ้างที่จะทำ ใช้วัสดุใดใช้เงินทุนเท่าไหร่  เวลาทำมากน้อยแค่ไหน
ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูลเพื่อแสวงหาวิธีแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ อ่านหนังสือ  ค้นหาในอินเทอร์เนต สอบถาม
ขั้นตอนที่ 3 การเลือกวิธีการ การทำตู้จดหมายมี  2 แนวทางคือ
3.1ใช้ตู้จดหมายวงจรเสียงเพลงและอุปกรณ์สำเร็จรูปทั้งหมด
3.2ประกอบตู้จดหมายเสียงเพลงด้วยตนเองทั้งหมด
        เมื่อพิจารณาความต้องการแล้วคือต้องการตู้เสียงเพลงแบบประหยัดและสวยงามจึงเลือกแบบที่ 2
ขั้นที่ตอนที่ 4 การออกแบบและปฏิบัติการ  เริ่มจากวาดภาพร่าง 2 มิติ 3 มิติ ตู้จดหมายและวงจรเสียงเพลงลงกระดาษแล้วใช้โปรแกมคอมพิวเตอร์สร้างแบบจำลองจากนั้นเตรียมวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือและประกอบตามที่ออกแบบไว้ตกแต่งให้สวยงาม
ขั้นตอนที่ 5 การทดสอบ  ทดสอบติดตั้งใช้ตู้จดหมายมีเสียงเพลงพบปัญหาคือสายซิลด์ที่ต่อจากตู้จดหมายไปยังลำโพงในบ้านสั้นไปจึงต้องใช้สายใหม่ให้ยาวขึ้นกว่าเดิม
ขั้นตอนที่ 6 การปรับปรุงแก้ไข  ต่อสายใหม่ให้ยาวกว่าเดิม
ขั้นตอนที่ 7 การประเมินผล  เมื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วให้ประเมินผลโดยรวมว่าสามารถแก้ปัญหาที่ต้องการตั้งแต่เริ่มแรกหรือไม่น่าจะใช้วิธีอื่นในการแก้ปัญหาหรือไม่หรือตกแต่งตู้จดหมายให้สวยงามอย่างไรและเดินสายซิลล์เข้าในบ้านให้เรียบร้อยได้อย่างไร

การวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์มีหลักดังนี้
1.ประโยชน์ใช้สอย          2.ความคงทน
3.ความสวยงาม     4.ราคา           5.ความปลอดภัย

ตัวอย่างการออกแบบผลิตภัณฑ์

ตัวอย่างการออกแบบผลิตภัณฑ์ตรงใจผู้ใช้งาน


เมื่อธุรกิจเริ่มมีคู่แข่งมากขึ้น ความยากในการขายสินค้าของแต่ละแบรนด์ก็เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ธุรกิจเจ้าใหญ่หลายแบรนด์จึงต้องคิดค้นวิธีที่จะชนะคู่แข่งโดยหันไปใส่ใจให้น้ำหนักกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) ให้มากขึ้น วันนี้ TCDC จึงนำเสนอ 7 ตัวอย่างการออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่เชื่อมโยงความคิดสร้างสรรค์กับการตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ เพราะความต้องการของผู้ใช้นี่เองจะเป็นหนึ่งตัวแปรสำคัญ ที่ทำให้ผู้ใช้เลือกสินค้าแบรนด์เราเป็นแบรนด์โปรด และทำให้แบรนด์เรามีความโดดเด่นกับแบรนด์อื่นได้อย่างง่ายดาย





1. Macbook Air ออกแบบโดย Apple หลายๆ คนอาจจะเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ชิ้นนี้แล้ว Macbook Air ขนาด 13 นิ้ว ที่มีส่วนที่บางที่สุดเพียง 3 มิลลิเมตร และมีน้ำหนักเพียงแค่ 1.3 กิโลกรัมเท่านั้น แต่คุณรู้ไหม Apple สร้างคอมพิวเตอร์เครื่องนี้อย่างไร? ด้วยนวัตกรรมใหม่ของ Apple ที่สร้างแหล่งเก็บข้อมูลหรือ flash storage ที่มีความหนาน้อยกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วไปถึง 90 เปอร์เซ็นต์ จึงจำเป็นต้องสร้าง Product Design ที่แตกต่างหากจาก Macbook Pro ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด การที่ Apple ได้คิดค้นผลิตภัณฑ์ตัวนี้ขึ้นมา เพราะต้องการตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ที่ต้องการคอมพิวเตอร์ที่มีน้ำหนักเบาและพกพาไปไหนมาไหนได้ง่ายขึ้น






2. Newport Capo for G7th ออกแบบโดย Bluefrog Design หลายๆ คนที่เคยเล่นกีต้าร์มาก่อนคงพอที่จะรู้ว่าผลิตภัณฑ์ชิ้นนี้คืออะไร แต่สำหรับคนที่ไม่คุ้นเคยกับการเล่นกีต้าร์ Capo คือเครื่องมือที่ช่วยแปลงเสียงของกีต้าร์ให้มีลำดับเสียงที่สูงขึ้น แต่ส่วนมากผู้เล่นกีต้าร์จะไม่นิยมใช้ Capo กันเพราะมันดูน่าเกลียด ทำให้เล่นได้ยากขึ้น และยังทำให้เสียงสูงจนเพี๊ยนด้วยในบางเวลา Bluefrog Design จึงคิดค้น Capo ที่เบาขึ้น รูปร่างสวยงามมากขึ้น และมีขนาดเล็กเล็กลงเพื่อที่จะตอบสนองปัญหาของมือกีต้าร์ทั้งหลาย





3. New Bowl for Alessi ออกแบบโดย Terence Conran นักออกแบบ Terence Conran ผู้ที่ฉลองงานครบรอบวันเกิดของตัวเองด้วยการออกแบบถ้วยเหล็กถ้วยนี้ ซึ่งผลิตขึ้นจากเหล็กกล้า มีความกว้าง 20 เซนติเมตรและความสูง 9.5 เซนติเมตร เพื่อจะทำหน้าที่เก็บความเย็นของอาหารและผลไม้ไว้ในถ้วยได้ยาวนานขึ้น ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้อาหารชื้นและเสียรสชาติไป





4. Jambox[k1] for Jawbone ออกแบบโดย Yves Behar and Jawbone ลำโพงไร้สายตัวนี้เกิดขึ้นจากความต้องการลำโพงที่สามารถส่งเสียงดังสนั่นและสามารถพกพาไปไหนต่อไหนได้สะดวก รวมถึงเชื่อมต่อกับทุกอุปกรณ์ที่บรรจุเพลงโปรดของเราไว้ ไม่ว่าจะเป็น iPhone iPodTouch หรือ iPad ได้ Jambox เป็นลำโพงที่ทำจากเหล็กกล้า เชื่อมด้วยท่อยางที่คลุมสี่รอบด้าน เพื่อลดส่วนประกอบอื่นๆ ที่ไม่จำเป็น ดีไซน์ด้วยความเรียบง่ายนี้ก็ทำให้ดูเก๋ไก๋ไปอีกแบบ





 
5. Quickfix Bicycle Mudguard ออกแบบโดย Full Windsor คนที่ชอบขี่จักรยานโลดโผนบนภูเขาคงเคยมีปัญหาดินโคลนกระเด็นใส่ผู้ขับจากล้อหลัง บริษัท Full Windsor จึงนำปัญหานี้มาสร้างเป็นโอกาสทางธุรกิจ โดยสร้างที่กันโคลนที่มีประสิทธิภาพดี แถมได้รับการออกแบบมาเพื่อที่จะสามารถล็อคติดกับจักรยานทุกชนิดได้ง่ายๆ และยังผลิตจากวัสดุรีไซเคิลอีกด้วย




6. Bicygnals Angel ออกแบบโดย Gavin Thompson Design 
ในต่างประเทศมีสถิติอุบัติเหตุจักรยานมากที่สุดหลังช่วงเวลาสี่โมงเย็นเป็นต้นไป ซึ่งเป็นเวลาที่มืดค่ำแล้ว นักออกแบบ Gavin Thompson จึงคิดค้นหมวกกันน็อคที่เรืองแสงในที่มืด แบบวงกลม 360 องศา และชาร์ตแบตเตอรี่ผ่าน USB ได้ หมวกกันน็อคตัวนี้จะกระพริบแสงเป็นจังหวะ เพื่อบอกตำแหน่งของคนที่ขี่จักรยานให้คนที่ขับรถยนต์รู้ ผลิตภัณฑ์นี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนองความปลอดภัยของคนที่ขับจักรยานกลับบ้านตอนกลางคืนในต่างประเทศ





7. iPad 2 ออกแบบโดย Apple
อีกผลิตภัณฑ์หนึ่งที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ ที่ต้องการเครื่องมืออิเล็คโทรนิคที่เบาและสามารถพกพาไปไหนมาไหนได้ด้วยเช่นกัน Apple ออกแบบ iPad 2 ให้มีความบางกว่า iPad รุ่นก่อนหน้าถึง 33 เปอร์เซ็นต์และมีน้ำหนักเบากว่าถึง 15 เปอร์เซ็นต์ อีกทั้งยังติดกล้องไว้สองด้าน และกล้องถ่ายรูปด้านหลังรองรับการถ่ายแบบความละเอียดสูงอีกด้วย



การออกแบบผลิตภัณฑ์

การออกแบบผลิตภัณฑ์


ความหมายการออกแบบ
           การออกแบบ หมายถึง การรู้จักวางแผนจัดตั้งขั้นตอน และรู้จักเลือกใช้วัสดุวิธีการเพื่อทำตามที่ต้องการนั้น โดยให้สอดคล้องกับลักษณะรูปแบบและคุณสมบัติของวัสดุแต่ละชนิดตามความคิดสร้างสรรค์ และการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ขึ้นมา
         เช่น เราจะทำเก้าอี้นั่งซักตัวจะต้องวางแผนไว้เป็นขั้นตอนโดยต้องเริ่มเลือกวัสดุที่จะใช้ทำเก้าอี้นั้นจะใช้วัสดุอะไรที่เหมาะสม วิธีการต่อยึดนั้นควรใช้กาว ตะปูนอต หรือใช้ข้อต่อแบบใด คำนวณสัดส่วนการใช้งานให้เหมาะสม ความแข็งแรงของเก้าอี้นั่งมากน้อยเพียงใด สีสันควรใช้สีอะไรจึงจะสวยงาม และทนทานกับการใช้งาน เป็นต้น 

การออกแบบมีการใช้ความคิดเชิงสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ

          1.ความคิดริเริ่ม          2.ความคล่องในการคิด          3.ความยืดหยุ่นในการคิด          4.ความคิดละเอียดละออ


กระบวนการเทคโนโลยี

กระบวนการเทคโนโลยีคืออะไร


ในชีวิตประจำวันของมนุษย์มีกิจกรรมต่างๆ เกิดขึ้นมากมายตามเงื่อนไขและปัจจัยในการดำรงชีวิตของแต่ละคน ทำให้บางครั้งมนุษย์ต้องพบเจอกับปัญหาหรือความต้องการที่จะทำให้การดำรงชีวิตดีขึ้น เราเรียกว่า “สถานการณ์เทคโนโลยี"

การพิจารณาว่าสถานการณ์ใดเป็นสถานการณ์เทคโนโลยี จะพิจารณาจาก 3 ประเด็นคือ เป็นปัญหาหรือความต้องการของมนุษย์ เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม หรือเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์

การแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการที่พบในสถานการณ์เทคโนโลยี จะต้องใช้ทรัพยากร ความรู้และทักษะต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงจำเป็นต้องมีวิธีการหรือกระบวนการทำงานในการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการอย่างเป็นขั้นตอนที่ชัดเจน ซึ่งเรียกกระบวนการนั้นว่า “กระบวนการเทคโนโลยี”


กระบวนการเทคโนโลยีมีกี่ขั้นตอน


กระบวนการเทคโนโลยี เป็นขั้นตอนการทำงานเพื่อสร้างสิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการของมนุษย์ กระบวนการเทคโนโลยี
ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้

1. กำหนดปัญหาหรือความต้องการ (Identify the problem)
2. รวบรวมข้อมูล (Information gathering)
3. เลือกวิธีการ (Selection)
4. ออกแบบและปฏิบัติการ (Design and making)
5. ทดสอบ (Testing)
6. ปรับปรุงแก้ไข (Modification and improvement)
7. ประเมินผล (Assessment)

ขั้นที่ 1 กำหนดปัญหาหรือความต้องการ

ขั้นตอนแรกของกระบวนการเทคโนโลยี คือ การกำหนดปัญหาหรือความต้องการ ซึ่งเป็นการทำความเข้าใจหรือวิเคราะห์ปัญหาหรือความต้องการหรือสถานการณ์เทคโนโลยีอย่างละเอียด เพื่อกำหนดกรอบของปัญหาหรือความต้องการให้ชัดเจนมากขึ้น


ขั้นที่ 2 รวบรวมข้อมูล

การรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาหรือความต้องการที่กำหนดไว้ในขั้นกำหนดปัญหาหรือความต้องการจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เช่น ศึกษาจากตำรา วารสาร บทความ สารานุกรม สืบค้นจากอินเทอร์เน็ต ระดมสมองจากสมาชิกในกลุ่ม โดยควรมีการรวบรวมข้อมูลรอบด้านให้ครอบคลุมปัญหาหรือความต้องการ ซึ่งจะทำให้เราสามารถสรุปวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการได้ครบถ้วนสมบูรณ์ขึ้น

ขั้นที่ 3 เลือกวิธีการ

การเลือกวิธีการ เป็นการพิจารณาและเลือกวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการที่เหมาะสมและสอดคล้องกับปัญหาหรือความต้องการมากที่สุด โดยใช้กระบวนการตัดสินใจเลือกจากวิธีการที่สรุปได้ในขั้นรวบรวมข้อมูล ประเด็นที่ควรนำมาพิจารณาคือ ข้อดี ข้อเสีย ความสอดคล้องกับทรัพยากรที่มีอยู่ ความประหยัด และการนำไปใช้ได้จริงของแต่ละวิธี เช่น ทำให้ดีขึ้น สะดวกสบายหรือรวดเร็วขึ้น นอกจากนี้ควรพิจารณาคัดเลือกวิธีการโดยใช้กรอบของปัญหาหรือความต้องการมาเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือก

ขั้นที่ 4 ออกแบบและปฏิบัติการ

การออกแบบและปฏิบัติการเป็นการถ่ายทอดความคิดหรือลำดับความคิดหรือจินตนาการให้เป็นขั้นตอน เกี่ยวกับวิธีการ แก้ปัญหาหรือสนองความต้องการโดยละเอียด โดยใช้การร่างภาพ 2 มิติ การร่างภาพ 3 มิติ การร่างภาพฉาย แบบจำลอง หรือแบบจำลองความคิด และวางแผนการปฏิบัติงานอย่างเป็นขั้นตอน จากนั้นลงมือสร้างตามแนวทางที่ได้ถ่ายทอดความคิดและวางแผนการปฏิบัติงานไว้ ผลงานที่ได้อาจเป็นชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการ

ขั้นที่ 5 ทดสอบ

การทดสอบเป็นการตรวจสอบชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการที่สร้างขึ้นว่ามีความสอดคล้อง ตามแบบที่ได้ถ่ายทอดความคิดไว้หรือไม่ สามารถทำงานหรือใช้งานได้หรือไม่ มีข้อบกพร่องอย่างไร หากผลการทดสอบพบว่า ชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการไม่สอดคล้องตามแบบที่ถ่ายทอดความคิดไว้ ทำงานหรือใช้งานไม่ได้ หรือมีข้อบกพร่องที่ควรปรับปรุงแก้ไข จะต้องมีการบันทึกสิ่งต่างๆ เหล่านี้ไว้ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นข้อมูลที่นำไปสู่การปฏิบัติงานในขั้นปรับปรุงแก้ไขต่อไป

ขั้นที่ 6 ปรับปรุงแก้ไข

การปรับปรุงแก้ไข เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากขั้นทดสอบว่าควรปรับปรุงแก้ไขชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการในส่วนใด ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร แล้วจึงดำเนินการปรับปรุงแก้ไขในส่วนนั้น จนกระทั่งชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการสอดคล้องตามแบบที่ถ่ายทอดความคิดไว้ ทำงานหรือใช้งานได้ ในขั้นตอนนี้อาจจำเป็นต้องกลับไปที่ขั้นตอนออกแบบและปฏิบัติการอีกครั้งเพื่อถ่ายทอดความคิดใหม่หรืออาจกลับไปขั้นตอนรวบรวมข้อมูลและเลือกวิธีการที่เหมาะสมอีกครั้งก็ได้ เพื่อให้ได้สิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการที่เหมาะสมมากขึ้น

ขั้นที่ 7 ประเมินผล

การประเมินผล เป็นการนำชิ้นงานหรือวิธีการที่ได้สร้างขึ้นไปดำเนินการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการที่กำหนดไว้ในขั้นกำหนดปัญหาหรือความต้องการ และประเมินผลที่เกิดขึ้นว่าชิ้นงานหรือวิธีการนั้นสามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่ หากผลการประเมินพบว่า ชิ้นงานหรือวิธีการไม่สามารถแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการได้ ควรพิจารณาว่าจำเป็นต้องแก้ไขในขั้นตอนใด เพื่อนำไปปรับปรุงตามกระบวนการเทคโนโลยีอีกครั้ง เพื่อทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น


ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ

ความสัมพันธ์เทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ

            เทคโนโลยีเป็นความรู้สาขาหนึ่งของมนุษย์ว่าด้วยการประยุกต์ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ทั้งความรู้ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ พลังงาน ทักษะต่าง ๆ ในการคิดแก้ปัญหา ออกแบบและสร้างสิ่งใหม่ ๆ เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ ดังนั้น กระบวนการเทคโนโลยีจึงต้องอาศัยความรู้จากสาขาวิชาอื่น ๆ มาสนับสนุน เช่น ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ช่วยอธิบายหลักทางวิทยาศาสตร์ของสิ่งต่าง ๆ ความรู้ทางศิลปะช่วยวาดภาพหรือเขียนโครงร่างของสิ่งที่คิดประดิษฐ์ให้เห็นเป็นรูปธรรม หรือความรู้สาขามนุษย์ช่วยให้เข้าใจความต้องการวัฒนธรรมของสังคมมนุษย์ สิ่งเหล่านี้ช่วยสนับสนุนการทำงานทางเทคโนโลยี
            ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับมนุษย์ศาสตร์
            การทำงานตามกระบวนการทางเทคโนโลยีเริ่มจากวิเคราะห์ความต้องการของตน สื่อสารความต้องการให้ผู้อื่นเข้าใจ และเสนอแนวทางแก้ปัญหา ซึ่งต้องอาศัยทักษะการพูด อ่านและเขียน ลักษณะพฤติกรรมการเรียนรู้เทคโนโลยีต้องอาศัยทักษะทางภาษาซึ่งเป็นศาสตร์ของมนุษย์ศาสตร์ ดังนี้
                1. ทักษะการฟัง พูดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางเทคโนโลยีกับคนอื่น ๆ ในการทำกิจกรรม
                2. ทักษะการเขียน นำเสนอข้อมูลเชิงสัญลักษณ์ หรืออธิบายแนวคิดของตน
                3. ทักษะการสรุป กิจกรรมเทคโนโลยีเกี่ยวข้องกับการร่างโครงการและการอธิบายกระบวนการ ทำงานจนได้ชิ้นงาน การเขียนข้อสรุปจึงเป็นสิ่งสำคัญของเทคโนโลยี
            ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับสังคมศาสตร์
            ผู้เรียนต้องเข้าใจประวัติความเป็นมาทั้งอดีตจนถึงปัจจุบันและเทคโนโลยีในอนาคตช่วยสร้างสรรค์มนุษยชาติ จึงต้องให้ผู้เรียนตระหนักถึงหน้าที่ และความรับผิดชอบในฐานะสมาชิกที่ดีของสังคม โดยกิจกรรมดังนี้
                - สำรวจบทบาทเทคโนโลยีต่อสังคม
                - การจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้สนองความต้องการได้อย่างฉลาด
                - เข้าใจข้อจำกัดของปัจจัยต่าง ๆ ทางสังคม ค่านิยม โครงสร้างสังคม โดยนำสิ่งเหล่านี้มาประกอบการตัดสินใจในกิจกรรมทางเทคโนโลยี
                - วิจัย ศึกษา วิเคราะห์การใช้เทคโนโลยีในสังคม ส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างไรบ้าง
                - การตระหนักถึงการใช้ทรัพยากร สิ่งแวดล้อมในธรรมชาติ และวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
                - วิจัยศึกษา วิเคราะห์ผลกระทบการใช้เทคโนโลยีต่อสังคม


ความสำคัญและบทบาทของเทคโนโลยี

บทบาทและความสำคัญ

      ของเทคโนโลยีสารสนเทศ    


 ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากมีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก การเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลา พัฒนาการของเทคโนโลยีทำให้ชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนไปมาก ลองย้อนไปในอดีตโลกมีกำเนินมาประมาณ 4600 ล้านปี เชื่อกันว่าพัฒนาการตามธรรมชาติทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตถือกำเนินบนโลกประมาณ 500 ล้านปีที่แล้ว ยุคไดโนเสาร์มีอายุอยู่ในช่วง 200 ล้านปี สิ่งมีชีวิตที่เป็นเผ่าพันธุ์มนุษย์ ค่อย ๆ พัฒนามา คาดคะเนว่าเมื่อห้าแสนปีที่แล้วมนุษย์สามารถส่งสัญญาณท่าทางสื่อสารระหว่างกันและพัฒนามาเป็นภาษา มนุษย์สามารถสร้างตัวหนังสือ และจารึกไว้ตามผนึกถ้ำ เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่ามนุษย์ต้องใช้เวลานานพอสมควรในการพัฒนาตัวหนังสือที่ใช้แทนภาษาพูด และจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่าฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 500 ถึง 800 ปีที่แล้ว เทคโนโลยีเริ่มเข้ามาช่วยในการพิมพ์ ทำให้การสื่อสารด้วยข้อความและภาษาเพิ่มขึ้นมาก เทคโนโลยีพัฒนามาจนถึงการสื่อสารกัน โดยส่งข้อความเป็นเสียงทางสายโทรศัพท์ได้ประมาณร้อยกว่าปีที่แล้ว และเมื่อประมาณห้าสิบปีที่แล้ว ก็มีการส่งภาพโทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ทำให้มีการใช้สารสนเทศในรูปแบบข่าวสารมากขึ้น ในปัจจุบันมีสถานที่วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ แ ละสื่อต่าง ๆ ที่ใช้ในการกระจ่ายข่าวสาร มีการแพร่ภาพทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อรายงานเหตุการณ์สด เห็นได้ชัดว่าเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทอย่างมาก บทบาทของการพัฒนาเทคโนโลยีรวดเร็วขึ้นเมื่อมีการพัฒนาอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ จะเห็นได้ว่าในช่วงสี่ห้าปีที่ผ่านมาจะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เข้าไปเกี่ยวข้องให้เห็นอยู่ตลอดเวลา ในอดีตยุคที่มนุษย์ยังเร่ร่อน มีอาชีพเกษตรกรรม ล่าสัตว์ ต่อมามีการรวมตัวกันสร้างเมือง และสังคมเมืองทำให้เกิดอุตสาหกรรมการผลิต การผลิตทำให้เกิดการปฏิวัติทางอุตสาหกรรมที่เน้นการผลิตจำนวนมาก สังคมจึงเป็นสังคมเมืองที่มีอุตสาหกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่หลังจากปี พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา ระบบสื่อสารโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ก้าวหน้ามาก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคสังคมสารสนเทศ ชีวิตความเป็นอยู่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารจำนวนมาก การสื่อสารโทรคมนาคมกระจายทั่วถึง ทำให้ข่าวสารแพร่กระจ่ายไปอย่างรวดเร็ว สังคมในปัจจุบันเป็นสังคมไร้พรมแดนเพราะเรื่องราวของประเทศหนึ่งสามารถกระจายแพร่ออกไปยังประเทศต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว.....

ความหมายของเทคโนโลยี

ความหมายของเทคโนโลยี

เทคโนโลยี (Technology)   


     
คำว่า เทคโนโลยี ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า "Technology" ซึ่งมาจากภาษากรีกว่า "Technologia" แปลว่า การกระทำที่มีระบบ อย่างไรก็ตามคำว่า เทคโนโลยี มักนิยมใช้ควบคู่กับคำว่า วิทยาศาสตร์ โดยเรียกรวม ๆ ว่า "วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี"

    *** พจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน (2539 : 406) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยี คือ "วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม"

นอกจากนั้นยังมีผู้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้หลากหลาย ดังนี้ คือ

*** ผดุงยศ ดวงมาลา (2523 : 16) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่าปัจจุบันมีความหมายกว้างกว่ารากศัพท์เดิม คือ หมายถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกล สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ทาง อุตสาหกรรม ถ้าในแง่ของความรู้ เทคโนโลยีจะหมายถึง ความรู้หรือศาสตร์ที่เกี่ยวกับเทคนิคการผลิตในอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่น ๆ ที่จะเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ หรืออาจสรุปว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้ที่มนุษย์ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์เอง ทั้งในแง่ความเป็นอยู่และการควบคุมสิ่งแวดล้อม

*** สิปปนนท์ เกตุทัต (ม.ป.ป. 81) อธิบายว่า เทคโนโลยี คือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และศาสตร์อื่น ๆ มาผสมผสานประยุกต์ เพื่อสนองเป้าหมายเฉพาะตามความต้องการของมนุษย์ด้วยการนำทรัพยากรต่าง ๆ มาใช้ในการผลิตและจำหน่ายให้ต่อเนื่องตลอดทั้งกระบวนการ เทคโนโลยีจึงมักจะมีคุณประโยชน์และเหมาะสมเฉพาะเวลาและสถานที่ และหากเทคโนโลยีนั้นสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีนั้นจะเกื้อกูลเป็นประโยชน์ทั้งต่อบุคคลและส่วนรวม หากไม่สอดคล้องเทคโนโลยี นั้น ๆ จะก่อให้เกิดปัญหาตามมามหาศาล

*** ธรรมนูญ โรจนะบุรานนท์ (2531 : 170) กล่าวว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้วิชาการรวมกับความรู้วิธีการ และความชำนาญที่สามารถนำไปปฏิบัติภารกิจให้มีประสิทธิภาพสูง โดยปกติเทคโนโลยีนั้นมีความรู้วิทยาศาสตร์รวมอยู่ด้วย นั้นคือวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ เทคโนโลยีเป็นการนำความรู้ไปใช้ในทางปฏิบัติ จึงมักนิยมใช้สองคำด้วยกัน คือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเน้นให้เข้าใจว่า ทั้งสองอย่างนี้ต้องควบคู่กันไปจึงจะมีประสิทธิภาพสูง

*** ส่วน ชำนาญ เชาวกีรติพงศ์ (2534 : 5) ได้ให้ความหมายสั้น ๆ ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยการประกอบวัตถุเป็นอุตสาหกรรม หรือวิชาช่างอุตสาหกรรม หรือการนำเอาวิทยาศาสตร์มาใช้ในทางปฏิบัติ
จากการที่มีผู้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้หลากหลาย สรุปได้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่นำเอาวิทยาการทางวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ มาประยุกต์ใช้ตามความต้องการของมนุษย์ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น

***** พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีเป็นภาษาง่าย ๆ ว่า หมายถึง การรู้จักนำมาทำให้เป็นประโยชน์นั่นเอง (เย็นใจ เลาหวณิช. 2530 : 67)

เทคโนโลยีมี 4 ระดับ ได้แก่


1. เทคโนโลยีระดับเบื้องต้น  สามารถจัดหาได้ภายในประเทศ หรือสามารถพัฒนาขึ้นได้ในระยะเวลาอันสั้น เช่น ตู้เย็น โทรศัพท์ เป็นต้น

2. เทคโนโลยีระดับกลาง  มักต้องซื้อจากต่างประเทศ แต่สามารถพัฒนาได้ภายในประเทศ หากมีแผนการพัฒนาที่ต่อเนื่อง เช่น โทรทัศน์  เครื่องเสียง เป็นต้น

3. เทคโนโลยีระดับสูง ต้องซื้ออุปกรณ์จากต่างประเทศ แต่สามารถใช้งานโดยคนไทย หากพัฒนาในประเทศจะต้องซื้อเทคโนโลยีแกนจากต่างประเทศ เช่น คอมพิวเตอร์  โทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นต้น

4. เทคโนโลยีระดับสูงมาก ต้องซื้ออุปกรณ์ และทักษะการใช้งานจากต่างประเทศ  เช่น ระบบคมนาคมสื่อสารขนาดใหญ่